ศาสตร์การแปลในทัศนะของอ็องตวน แบร์มาน (Translation Studies in the Eyes of Antoine Berman)

Fiche du document

Date

31 décembre 2019

Type de document
Périmètre
Langue
Identifiants
Relations

Ce document est lié à :
info:eu-repo/semantics/altIdentifier/doi/10.14456/bulletin-atpf.2019.9

Collection

Archives ouvertes

Licence

http://hal.archives-ouvertes.fr/licences/copyright/



Citer ce document

Arthit Wongsanga, « ศาสตร์การแปลในทัศนะของอ็องตวน แบร์มาน (Translation Studies in the Eyes of Antoine Berman) », HAL-SHS : linguistique, ID : 10.14456/bulletin-atpf.2019.9


Métriques


Partage / Export

Résumé 0

ในวงวิชาการด้านการแปลศึกษาของฝรั่งเศส อ็องตวน แบร์มาน (Antoine Berman) ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกทางทฤษฎีที่สําคัญคนหนึ่งในการสถาปนาการแปลให้เป็น “ศาสตร์” ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้และวิธีวิทยาเป็นการเฉพาะและแตกต่างจากกระบวนทัศน์วิธีวิทยาทางภาษาศาสตร์ซึ่งพิจารณาว่าการแปลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการถ่ายภาษาที่กระทําขึ้นระหว่างภาษาสองภาษา อ็องตวน แบร์มาน พิจารณาว่าทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมายที่ ดานิกา เซเลสโกวิชต์ (Danica Seleskovitch) และมารีอานน์ เลเดแรร์ (Marianne Lederer) ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นศาสตร์เอกเทศจากภาษาศาสตร์และใช้เป็นทฤษฎีหลักในการเรียนการสอนของสถาบันชั้นสูงด้านการล่ามและการแปล (École Supérieure d’Interprèteset de Traducteurs (E.S.I.T)) ณ กรุงปารีส นั้นยังมีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีภาษาศาสตร์ซึ่งให้ความสําคัญกับการค้นหาคําศัพท์ สํานวนเทียบเคียงเพื่อถ่ายทอดความหมายไปยังผู้อ่านบทแปลโดยมองข้ามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภาษาต้นฉบับไป แนวคิดญาณวิทยาทางการแปลของ อ็องตวน แบร์มาน จึงมุ่งเน้นไปที่การใคร่ครวญและพิจารณาการแปลในฐานะที่เป็นการปะทะสังสันทน์ทางวัฒนธรรมของชนต่างภาษา มิใช่กระบวนการสลับภาษาที่กระทํากันได้โดยอัตโนมัติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การศึกษาการแปลจึงควรมีรากฐานมาจากการเคารพวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในต้นฉบับ โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางภาษา บทแปลเองก็ควรมีความแปลกแปร่งไปตามรูปแบบและแนวคิดในการเขียนของผู้ประพันธ์ต้นฉบับ มิใช่ลื่นไหลเป็นธรรมชาติและเข้าใจได้ง่ายประหนึ่งว่าผู้ประพันธ์นั้นเป็นคนที่อยู่ในชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเดียวกันกับผู้อ่านบทแปล

document thumbnail

Par les mêmes auteurs

Exporter en